สรุปผลกระทบต่อสุขภาพและระบบนิเวศของ EPN (Ethyl p-nitrophenyl thionobenzenephosphonate)

นพ.ประกิจ    เชื้อชม
ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
ดร.ภญ.นาถธิดา วีระปรียากุล

การปนเปื้อนสาร EPN บนร่างกาย  ผู้ฉีดพ่น

จากงานวิจัยความเสี่ยงจากการใช้วัตถุมีพิษการเกษตร(Risk Assessment of Pesticides Used) ของวิภา  ตั้งนิพนธ์และคณะ  กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร        สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 14 พบว่า จากผลการสัมผัสสารพิษบนร่างกายผู้ใช้ภายหลังการฉีดพ่น/หว่าน เมื่อเจาะเลือดเกษตรกรไปวัด AChE Activity ในเม็ดเเลือดแดงพบว่าสารพิษ dicrotophos EPN chlorpyrifos และ carbofuran ทั้ง 4 ชนิดนี้ มีผลทำให้ระดับการทำงานของเอนไซม์ลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับค่า Base Line Level

โดยเฉพาะผู้ฉีดพ่น EPN ในแปลงพริกด้วยอัตราความเข้มข้นสูง 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร วัดระดับ AChE Activity ลดลงมาก 19-62 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขีดจำกัดของการลดการทำงานของ AChE Activity ในเม็ดเลือดแดง(depression limit) กำหนดว่าผู้ฉีดพ่นที่ตรวจวัด AChE Activity ทำงานลดลง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ต้องหยุดงานฉีดพ่นทันที และภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าระดับการทำงานของเอนไซม์ฟื้นฟูสู่ระดับปกติจึงกลับมาทำงานได้ (Ware and Nigg, 2000) ดังนั้นภายหลังฉีดพ่น EPN แล้วเกษตรกรคนนี้ต้องว่างเว้นการสัมผัสสารพิษนาน 1 สัปดาห์ เช่นเดียวกับผู้หว่าน carbofuran ในนาข้าว วัดระดับ AChE Activity ลดลง 23-29 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรคนหนึ่งต้องว่างเว้นการสัมผัสสารพิษนาน 1 สัปดาห์เช่นกัน เพราะผู้หว่านได้รับสารปนเปื้อนบนมือโดยตรง ถ้าไม่สวมถุงมือระหว่างการหว่าน

พิษเฉียบพลัน ( ACUTE TOXICITY ) 31, 39-40

เมื่อได้รับผ่านทางเดินหายใจและผ่านทางผิวหนัง จะมีอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสีย แน่นหน้าอก มองเห็นภาพไม่ชัด กล้ามเนื้อกระตุก สับสน สูญเสียการทรงตัว และตายได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปอด ไอ หายใจสั้น การได้รับสารในปริมาณมากทำให้มีการหลั่งของเหลวที่ปอด เกิดการบวม (Pulmonary edema) และหยุดการหายใจ ทำให้เสียชีวิตเมื่อกินเข้าไป

เมื่อสัมผัสทางผิวหนัง     ระคายเคืองอย่างอ่อนต่อผิวหนัง  ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง   อันตรายต่อการปฏิสนธิหรือทารกในครรภ์   ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย (ระบบประสาท)    ทำให้เกิดอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ

เมื่อได้รับผ่านทางเดินหายใจและผ่านทางผิวหนัง จะมีอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสีย แน่นหน้าอก มองเห็นภาพไม่ชัด กล้ามเนื้อกระตุก สับสน สูญเสียการทรงตัว และตายได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปอด ไอ หายใจสั้น

การได้รับสารในปริมาณมากทำให้มีการหลั่งของเหลวที่ปอด เกิดการบวม (Pulmonary edema) และหยุดการหายใจ  EPN ทำให้เกิดการทำลายระบบประสาท คือทำให้เกิดอาการชา ไร้ความรู้สึก หรือปวดเหมือนเข็มแทง (Pins and needles) หรือมีอาการมือ/เท้าอ่อนแรง

การได้รับ EPN ซ้ำอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล รำคาญ ขี้โมโห

(New Jersey Department of Heath and Senior Service Hazardous Substance Fact Sheet)

เกิดพิษเรื้อรัง (Chronic toxicity)

พบพิษของ EPN ต่อระบบประสาทของเป็ดป่า (Mallards) จากการศึกษาโดยการให้ EPN แก่เป็ดป่าในขนาดต่างๆ (กลุ่มละ 6 ตัว) ผสมกับอาหารเป็นเวลา 90 วัน พบว่ามีอาการกระตุก (ataxia) โดยในกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 270 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 16 วัน  ในกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 90 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 20 วัน  และกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 30 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 38 วัน  และพบว่ากลุ่มที่ได้รับ EPN ขนาด 270 ppm เป็นเวลา 90 วันจะมีอาการกระตุกและอัมพาต  และกลุ่มที่ได้ EPN มากกว่า 30 ppm จะสังเกตพบการลดลงของน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังพบว่าหน้าที่ของเอนไซม์ acethylcholine esterase ในสมอง และในพลาสมาถูกยับยั้ง และพบอาการทางพยาธิสภาพที่ผิดปกติคือ demyelination  degeneration of axon ของไขสันหลัง  26

เกิดพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive effect)

มีข้อมูลการวิจัย การทดสอบสารเคมีฆ่าแมลง 200 ชนิด ในการกระตุ้นหรือยับยั้ง human estrogen receptor (hER) ทั้ง 2 subtypes, hERalpha และ hERbeta, และ a human androgen receptor (hAR) โดยวิธี highly sensitive transactivation assays ใน Chinese hamster ovary cells  ซึ่งพบว่ามีสารเคมี  34 ตัว ที่มีผลต่อทั้ง  estrogenic and antiandrogenic activities ซึ่ง EPN เป็นหนึ่งในสารเคมีดังกล่าว 25

เกิดกาลวิรูปในทารก (Teratogenic effect)

พบการเกิดวิรูป (Teratogenic) จากการทาเปลือกไข่ของเป็ดป่า (Anas platyrhynchos) ด้วย EPN ในขนาดต่างๆ คือ 12, 36, 108 microG/g ของน้ำหนักของไข่ ซึ่งเท่ากับความเข้มข้น1 เท่า, 3 เท่า และ 9 เท่าของขนาดที่ใช้พ่นเป็นยาฆ่าแมลง จากการศึกษาพบว่า EPN ทำให้เกิดการตายของเป็ดป่า 22-44 % หลังจากที่มีอายุ 18 วัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ EPN จะมีอัตราตาย 4-5%  EPN ลดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของเป็ดป่า (impaired embryonic growth) พบการเกิดกาลวิรูป 37-42% ในเป็ดที่มีอายุ 18 วัน คือพบความผิดปกติของคอมดลูก (cervical) และกระดูกสันหลังคด (axial scoliosis) และการบวมอย่างรุนแรง ตลอดจนพบน้ำหนักสมองลดลง 27

เกิดพิษต่ออวัยวะ  (Organ toxicity)

  • พบว่ามีผลต่อสมองของหนู Rat โดยพบว่าหลังจากที่หนูได้รับ EPN 6 วัน ปริมาณ polyunsatturated fatty acids ของกรดไขมันอิสระในสมองลดลงเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในสมอง 24
  • มีผลต่อสมองเนื่องจากมีรายงานเกี่ยวกับการกระตุ้น EPN ด้วย Bromine แล้วได้สารที่มีพิษที่มีผลยับยั้ง neuroblastoma cells จากสมองคน 20
  • พบรายงานการเกิดพิษต่อระบบประสาทในไก่ (hens) จากการได้รับ EPN และพบว่าพิษดังกล่าวมีมากขึ้นเมื่อได้รับร่วมกับ methyl butyl ketone โดยให้ EPN ขนาด 1.0 mg/kg ที่บริเวณด้านหลังของคอ (dermally apply) 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 90 วัน และได้ methyl butyl ketone ในขนาด 10, 50, 100 ppm โดยการสูดดม 17
  • พบพิษของ EPN ต่อระบบประสาทของเป็ดป่า (Mallards) จากการศึกษาโดยการให้ EPN แก่เป็ดป่าในขนาดต่างๆ (กลุ่มละ 6 ตัว) ผสมกับอาหารเป็นเวลา 90 วัน พบว่ามีอาการกระตุก (ataxia) โดยในกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 270 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 16 วัน  ในกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 90 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 20 วัน  และกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 30 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 38 วัน  และพบว่ากลุ่มที่ได้รับ EPN ขนาด 270 ppm เป็นเวลา 90 วันจะมีอาการกระตุกและอัมพาต  และกลุ่มที่ได้ EPN มากกว่า 30 ppm จะสังเกตพบการลดลงของน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังพบว่าหน้าที่ของเอนไซม์ acethylcholine esterase ในสมองและในพลาสมาถูกยับยั้ง และพบอาการทางพยาธิสภาพที่ผิดปกติคือ demyelination  degenaration of axon ของไขสันหลัง  26

กระบวนการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย (Fates)

  • จากการศึกษาใน Killifish เมื่อให้ EPN จะได้เมแทบอไลท์ของ EPN จากกระบวนการออกซิเดชันคือ EPN oxon การกำจัด EPN และ EPN oxon ออกจากตัวปลามีอัตราเร็วเท่ากับ 0.02 hr-1 และ 0.59 hr-1 ตามลำดับ หรือมีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 34.7 และ 1.2 ชั่วโมงตามลำดับ 45
  • EPN เป็น chiral organophosphate  ที่แต่ละฟอร์ม (stereoisomer) มีความเป็นพิษที่แตกต่างกัน มีรายงานว่า R-EPN มีความเป็นพิษมากในไก่ และใน housefilies มากกว่า S-EPN   R-EPNสามารถยับยั้งเอนไซม์acetylcholinesterase ได้มากกว่าS-EPN จากการศึกษาในหลอดทดลอง 46
  • จากการศึกษาขบวนการเมแทบอลิซึมของ EPN ในไก่ (Chicks) 15 อายุ 1 สัปดาห์ในขนาด 1 mg/kg (2.7 muCi/kg, 14C EPN) โดยวิธีกิน พบว่าปริมาณ EPN ยังหลงเหลืออยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่าน้ำดีและมากกว่าตับ และพบในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nerves) มากกว่าไขสันหลัง และพบปริมาณน้อยในสมอง หลังจากที่ให้เป็นเวลา 4 วันพบว่า EPN ถูกกำจัด 91.3 % ทั้งในปัสสาวะและอุจจาระ  ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัด EPN จากตัวไก่ คือ 16 ชม. ด้วยอัตราเร็วของการกำจัดยาเท่ากับ 0.04 hr-1
  • จากการศึกษาขบวนการเมแทบอลิซึมของ EPN ในไก่ (Adult Hens) 16 ในขนาด 10 mg/kg (LD50, 14C EPN) โดยวิธีกิน พบว่าปริมาณ EPN ในตับ มากกว่าในน้ำดี มากกว่าในไต เนื้อเยื่อไขมัน และกล้ามเนื้อตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบ EPN ในสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท ไต และพลาสมา ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัด EPN จากตัวไก่ คือ 16.5 วัน ด้วยอัตราเร็วของการกำจัดยาเท่ากับ 0.04 วัน-1

 

ผลกระทบต่อระบบนิเวศ  (Ecological effects)

ผลกระทบต่อนก (Effects on birds)

  • จากการศึกษาขบวนการเมแทบอลิซึมของ EPN ในไก่ (Chicks) 15 อายุ 1 สัปดาห์ในขนาด 1 mg/kg (2.7 muCi/kg, 14C EPN) โดยวิธีกิน พบว่าปริมาณ EPN ยังหลงเหลืออยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่า น้ำดี และมากกว่าตับ และพบในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nerves) มากกว่าไขสันหลัง และพบปริมาณน้อยในสมอง หลังจากที่ให้เป็นเวลา 4 วันพบว่า EPN ถูกกำจัด 91.3 % ทั้งในปัสสาวะและอุจจาระ ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัด EPN จากตัวไก่ คือ 16 ชม. ด้วยอัตราเร็วของการกำจัดยาเท่ากับ 0.04 hr-1
  • จากการศึกษาขบวนการเมแทบอลิซึมของ EPN ในไก่ (Adult Hens) 16 ในขนาด 10 mg/kg (LD50, 14C EPN) โดยวิธีกิน พบว่าปริมาณ EPN ในตับ มากกว่าในน้ำดี มากกว่าในไต เนื้อเยื่อไขมัน และกล้ามเนื้อตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบ EPN ในสมอง  ไขสันหลัง  เส้นประสาท ไต และพลาสมา ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัด EPN จากตัวไก่ คือ 16.5 วัน. ด้วยอัตราเร็วของการกำจัดยาเท่ากับ 0.04 วัน-1
  • พบรายงานการเกิดพิษต่อระบบประสาทในไก่ (hens) จากการได้รับ EPN และพบว่าพิษดังกล่าวมีมากขึ้นเมื่อได้รับร่วมกับ methyl butyl ketone โดยให้ EPN ขนาด 1.0 mg/kg ที่บริเวณด้านหลังของคอ (dermally apply) 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 90 วัน และได้ methyl butyl ketone ในขนาด 10, 50, 100 ppm โดยการสูดดม 17
  • พบพิษของ EPN ต่อระบบประสาทของเป็ดป่า (Mallards) จากการศึกษาโดยการให้ EPN แก่เป็ดป่าในขนาดต่างๆ (กลุ่มละ 6 ตัว) ผสมกับอาหารเป็นเวลา 90 วัน พบว่ามีอาการกระตุก (ataxia) โดยในกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 270 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 16 วัน ในกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 90 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 20 วัน และกลุ่มที่ได้ EPN ในขนาด 30 ppm จะเกิดอาการกระตุกหลังจากที่ได้รับ 38 วัน และพบว่ากลุ่มที่ได้รับ EPN ขนาด 270 ppm เป็นเวลา 90 วันจะมีอาการกระตุกและอัมพาต และกลุ่มที่ได้ EPN มากกว่า 30 ppm จะสังเกตพบการลดลงของน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังพบว่าหน้าที่ของเอนไซม์ acethylcholine esterase ในสมองและในพลาสมาถูกยับยั้ง และพบอาการทางพยาธิสภาพที่ผิดปกติคือ demyelination  degenaration of axon ของไขสันหลัง 26
  • พบการเกิดกาลวิรูป (Teratogenic) จากการทาเปลือกไข่ของเป็ดป่า (Anas platyrhynchos) ด้วย EPN ในขนาดต่างๆ คือ 12, 36, 108 microG/g ของน้ำหนักของไข่ ซึ่งเท่ากับความเข้มข้น1 เท่า, 3 เท่าและ 9 เท่าของขนาดที่ใช้พ่นเป็นยาฆ่าแมลง จากการศึกษาพบว่า EPN ทำให้เกิดการตายของเป็ดป่า 22-44 % หลังจากที่มีอายุ 18 วัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ EPN จะมีอัตราตาย 4-5% EPN ลดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของเป็ดป่า (impaired embryonic growth) พบการเกิดกาลวิรูป 37-42% ในเป็ดที่มีอายุ 18 วัน คือพบความผิดปกติของคอมดลูก (cervical) และกระดูกสันหลังคด (axial scoliosis) และการบวมอย่างรุนแรง ตลอดจนพบน้ำหนักสมองลดลง 27

ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ (Effects on aquatic organisms)

– มีรายงานขนาดของ EPN ที่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลันในปลา Killifish (Oryzias latipes) ขนาดที่ให้ (LD50) ในเวลา 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงคือ 0.65 mg/L และ 0.58 mg/L ตามลำดับ ในขณะที่ Oxidation product ที่เกิดจากการเมแทบอไลซ์ของ EPN คือ  EPN oxon จะมีค่า LD50 ที่เวลา 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงเท่ากับ 0.21 mg/L และ 0.16 mg/L ตามลำดับ 41

 

เอกสารอ้างอิง

1.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สรุปข้อมูลมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2540. (เอกสารอัดสำเนา)

2.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สรุปข้อมูลมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2541. (เอกสารอัดสำเนา)

3.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สรุปข้อมูลมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2542. (เอกสารอัดสำเนา)

4.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สรุปข้อมูลมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2543. (เอกสารอัดสำเนา)

5.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สรุปข้อมูลมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2544. (เอกสารอัดสำเนา)

6.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สรุปข้อมูลมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2545. (เอกสารอัดสำเนา)

7.ข้อมูลจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป  [http://news.thaieurope.net/]

8.ค่า MRLs สินค้าเกษตรและอาหารของสาธารณรัฐเกาหลี (ผลิตภัณฑ์จากพืชและปศุสัตว์)

ข้อมูลจากกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

9.ความรู้เกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 4 พ.ศ.2533กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า 1-11.

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=396

10.ผลงานเผยแพร่ขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ 8ว. ของสมสมัย ปาลกูล เรื่อง “ชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างของวัตถุมีพิษในองุ่น” ( Pesticide Residues in Grape) ศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในองุ่น โดยสำรวจเก็บตัวอย่างองุ่นในปี พ.ศ.2541-2542

11.บันทึกข้อความ ส่วนราชการ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ที่ กษ 0211.7/892 วันที่ 7 มิถุนายน 2550

12.บันทึกข้อความ ส่วนราชการ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ที่กษ 0211.7/277 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551

13.บันทึกข้อความ ส่วนราชการ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ที่ กษ 0211.7/857 วันที่ 25 มิถุนายน 2551)

14.วิภา  ตั้งนิพนธ์  และคณะ .ความเสี่ยงจากการใช้วัตถุมีพิษการเกษตรRisk Assessment of Pesticides Used.กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร                   สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

15. Abou-Donia, M. B., Hernandez, Y. M., Ahmed, N. S., Abou-donia, S. A.  Distribution and metabolism of O-ethyl O-4-nitrophenyl phenylphosphonothioate after single oral dose in one-week old chicks.  Arch. Toxicol.  54(1):83-96, 1983a (Abstract)

16.Abou-Donia, M. B., Reichert, B. L., Ashry, M. A.  The absorbtion, distribution, excretion, and metabolism of a single oral dose of  O-ethyl  O-4-nitrophenyl phenylphosphonothioate in hen.  Toxicol. Appl. Pharmacol.  70(1):18-28, 1983b (Abstract).

17.Abou-Donia, M. B., Lapadula, D. M., Campbell, G., Abdo, K. M.  The joint neurotoxic of inhale methyl butyl ketone vapor and dermal applied ethyl O-4-nitrophenyl phenylphosphonothioate in hens: potentiating effect.  Toxicol. Appl. Pharmacol.  79(1):69-82, 1985 (Abstract).

18. Bangkok post , AGRICULTURE News ,Pesticide levels pose threat to Thai vegetable exports 26/01/2011

19. Banned & Restricted Pesticides . Republic of the Philippines Department of Agriculture  FERTILIZER AND PESTICIDE AUTHORITY source: http://fpa.da.gov.ph/BANNED%20AND%20RESTRICTED%20PESTICIDES%20IN%20THE%2…

20. Barber, D., Correll, L., Ehrich, M.  Comparative effectiveness of organophosphorous protoxicant activation systems in neuroblastoma cells and brain homogenates.  J. Toxicol.  Environ. Health A.  57(1):63-74, 1999 (Abstract).

21. Consolidated list of products whose consumption and/or sale have . United Nations. SecretariatUnited Nations. Dept. of International Economic and Social Affairs , 2002 – 895 .. – ผลการค้นหาของ Google Books

22. E. I. du Pont de Nemours and Co., Inc.  1983.  Technical data  sheet for EPN.  Wilmington, DE.

23. Farm Chemicals Handbook, 70th ed.  1984.  R. T. Meister, G. L. Berg, C. Sine, S. Meister, and J. Poplyk, eds.  Meister Publishing Co., Willoughby, OH.

24. Fugushima, T., Hoja, N., Isobe, A., Shiwaku, K., Yamane, Y.  Effects of organophosphorous compounds on fatty acid compositions and oxidative phosphorylation system in the brain of rats.  Exp. Toxicol. Pathol.  49(5):381-386, 1997 (Abstract).

25.Hiroyuki Kojima, Eiji Katsura, Shinji Takeuchi, Kazuhito Niiyama, and Kunihiko Kobayashi.Screening for Estrogen and Androgen Receptor Activities in 200 Pesticidesby In Vitro Reporter Gene Assays Using Chinese Hamster Ovary Cells. Environmental Health Perspectives • 112( 5) ,April 2004

26. Hoffman, D. J., Sileo, L., Murray, H. C.  Subchronic organophosphorous ester-induced delayed neurotoxicity in mallards.  Toxicol. Appl. Pharmacol. 75(1):128-136, 1984 (Abstract).

27. Hoffman, D. J., Sileo, L.  Neurotoxic and teratogenic effects of an organophosphorus insecticide (phenyl phosphonothioic acid-O-ethyl-O-[4-nitrophenyl]ester) on mallard development.  Toxicol. Appl. Pharmacol. 73(2):284-294, 1984 (Abstract).

28. .http://kasetonline.com/search/epn-pesticide/

29. http://megapib.nic.in/Int_pest_bannedPest.htm

30. http://news.thaieurope.net/content/blogcategory/43/215/7/0/

31. http://pmep.cce.cornell.edu/profiles/insect-mite/ddt-famphur/epn/insect-…

32. http://www .m.doa.go.th/ard/rule/rule_125.pdf

33. . http://www .m.doa.go.th/ard/rule/rule_127.pdf

34. http://www .m.doa.go.th/ard/rule/rule_129.pdf

35.http://www.pantown.com/board.php?id=21604&area=4&name=board1&topic=6&action    =view

36.http://www.puiyaonline.com/index.php?lay=show&ac=cat_showcat&l=1&cid=12882&page=6&viewtype=1&sorttype=

37. http://www.tei.or.th/plibai/th_plibai59_sarakadi.html

38. MRLs for Agricultural Chemicals . The Japan Food Chemical Research Foundation

39. Parinya Panuwet et al.Uninary Paraitrophenol , a Metabolite of Methyl Parathion, in Thai Farmer and Child Poputation . Arch Environ Contam Toxicol , 57:623-629 , 2009

40. New Jersey Department of Heath and Senior Service.  Hazardous Substance Fact Sheet.  Cited in http://www.state.nj.us/health/eooh/rtkweb/0829.pdf.  (Searched on April 12, 2004).

41. Sigma-Aldrich Sweden AB Solkraftsvagen 14C S-13570 Stockholm , Catalog #36503

42. The Pesticide Manual:  A World Compendium, 7th ed.  1983.  C.R. Worthing, ed.  The British Crop Protection Council, Croydon, England.  695 pp.

43. The WHO Recommended Classification of Pesticides by Hazard and Guidelines to Classification 2004

44. Thomson, W. T.  1976.  Agricultural chemicals - book 1: insecticides, acaricides, and ovicides.  Revised ed.  Thomson  Publ., Indianapolis, IN.  232 pp.

45.Tsuda, T., Kojima, M., Harada, H., Nakajima, A., Aoki, S.  Acute toxicity, accumulation and excretion of organophosphorous insecticides and their oxidation products in killifish.  Chemosphere.  35(5): 939-949, 1997.

46.Tsugawa, W., Nakamura, H., Sode, K., Ohuchi, S.  Improvement of enantioselectivity of chiral organophosphate insecticide hydrolysis by bacterial phosphotriesterase.  Appl.  Biochem. Biotechnol.  84-86:311-317, 2000 (Abstract).