ฟังชัดๆ ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มีมติการใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ภายในหนึ่งปี

 


ฟังชัดๆ ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มีมติให้กรมวิชาการเกษตรยกเลิกการใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ภายในหนึ่งปี

เมื่อวานนี้ (23/11/ 2561) 23 พ.ย.61- นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการและโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดิน เปิดเผยว่าที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องเข้าให้ข้อมูลในประเด ็นผลกระทบของ 3 สารเคมี คือ “พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต” โดยที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าสารเคมีดังกล่าวมีอันตรายต่อประชาชน เห็นควรให้ยกเลิกการใช้ภายใน 1 ปี โดยในระหว่างนี้ต้องมีมาตรการควบคุมและจำกัดการใช้ ตลอดจนหาวิธีอื่นในการกำจัดศัตรูพืชทดแทน ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำแผนดำเนินการเสนอกลับใน 30 วัน ก่อนมีการประชุมเพื่อติดตาม ความคืบหน้าอีกครั้งหลังช่วงปีใหม่

มติของผู้ตรวจการแผ่นดินมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามข้อเสนอ และหากไม่ดำเนินการผู้ตรวจการจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี นั่นหมายถึงมตินี้จะกดดันให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วย มิใช่เพียงแค่กรมวิชาการเกษตรเท่านั้น

ในเฟซบุ๊ค ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมด้วยได้โพสต์รายละเอียดบรรยากาศการประชุมว่า

“วันนี้น่าจะเป็นวันที่คนไทยมีความสุขที่สุด จากการประชุมที่สำนักงานผู้ ตรวจการแผ่นดิน วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 โดยมีท่านพลเอกวิทวัส รัชตะนันท์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมทางฝ่าย สาธารณสุข ปกป้องสุขภาพคนไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์กรอิสระและตัวแทนคุ้มครองผู้บริโภค และฝ่ายที่ต้องการใช้สารเคมีพิษต่อ”

“ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้สรุปดังต่อไปนี้คือ
ประการที่หนึ่งขอให้กระทรวง เกษตรนำไปพิจารณายกเลิกพาราควอต คลอไพรีฟอส ไกลโฟเสท ภายในหนึ่งปี
ประการที่สองภายในกำหนดหนึ่งปีนี้ขอให้กระทรวงเกษตรกำหนดมาตรการจำกัดการใช้ และเผยแพร่พิษภัยอันตรายต่อเกษตรกรทั้งนี้เกษตรกรในพื้นทีต้องสามารถรับรู้ได้ว่ามีพิษภัยอะไรบ้างภายในสามเดือน
ประการที่สามกระทรวงเกษตรต้องหามาตรการในการกำจัดวัชพืช แมลง แทนสารพิษดังกล่าว

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรต้องส่ง รายงานไปยังสำนักงานพูดตรวจ การแผ่นดินภายใน 30 วัน และจะมีการประชุมติดตามในเร็วที่สุด”

“โดยท่านผู้ตรวจการแผ่นดินได้กล่าวย้ำหลายครั้งประเทศไทยของเราไม่ใช่ประเทศด้อยพัฒนา”

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอํานาจ

1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จําเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือ ปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของ รัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมนั้น
3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ

ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องไม่ดําเนินการตาม ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่ นดินตาม 1) หรือ 2) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให ้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อพิจาร ณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรต่อไป

ลิงค์ข่าว
https://www.thaipost.net/ main/detail/22589

https://www.youtube.com/ watch?v=g_k2pjcrZ4A